บทความนี้ เขียนในวันที่ 4 มิถุนายน 2551 เป็นวันหนึ่งที่รู้สึกเหมือนเป็นวันที่รอที่จะได้เขียนสิ่งต่อไปนี้ ความรู้สึกเหมือนในเพลง Blackbird ของสี่เต่าทอง The Beatles (1968) โดยเฉพาะท่อนที่ว่า “All your life, you were only waiting for this moment to arise”
หลังจากไปวิ่งที่ มธ. ท่าพระจันทร์ (ไม่บอกก็คงพอจะเดาได้ว่าเป็นคนชอบวิ่ง และเรียกได้ว่า”บ้าวิ่ง” เป็นพักๆ) ได้เดินเข้าร้านหนังสือและหยิบหนังสือของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ปกหลัง เขียนว่า “ผมอยากช่วยประเทศชาติ แต่ไม่ได้บนพื้นฐานว่าสังคมต้องการผมหรือไม่ แต่บนพื้นฐานว่าผมต้องการที่จะช่วย” อ่านประโยคนี้บวกกับความคิดที่วนอยู่ในหัวสมองนับตั้งแต่อ่านบทความของผู้บังคับบัญชาท่านหนึ่ง ก็มาถึงเรื่องที่จะกล่าวต่อไป อาจจะเป็นการเล่าชีวิตตัวเองมากไปสักหน่อย แต่ก็คิดว่าเกี่ยวโยงต่อเนื่องเป็นลำดับ
และในวันนี้ ได้รับ e-mail จากเพื่อนเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น 31 เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีที่รู้จักกัน ก็นึกได้ว่า นี่เราเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์มา 10 ปีแล้ว ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น หากมีคนถาม (หรือบางทีเขาไม่ได้ถาม แต่ขอเล่าเอง) ว่าทำไมถึงเลือกเรียน ศศ. คำตอบสั้น ง่าย และคิดว่าเท่ห์มากเวลาบอกใครไป ก็คือ เรียน ศศ. เพราะอยากเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้รัฐมนตรีคลัง full stop (คิดว่าเท่ห์สุดๆ ) หากจะขยายความต่อก็เป็นได้ว่า อยากใช้ความรู้ ความสามารถ มาทำนโยบายที่ส่งผลต่อ จีดีพี การจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ การกระจายรายได้ ลดปัญหาความยากจน ดูแลความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม (ก็ขนาดสัญลักษณ์คณะ คือ ฟันเฟือง คันไถ และรวงข้าว แสดงถึงปัจจัยการผลิต ผลิตมากหรือสินค้าเป็นที่ต้องการมาก ก็บังเกิดความกินดีอยู่ดี แต่ยุคสมัยนี้ จะกินดีอยู่ดีได้คงต้องมีบ่อน้ำมัน เพิ่มมาอีกหนึ่ง) ต่างๆ นาๆ ศัพท์แสงเหล่านี้ ได้ยินกระแทกหูอยู่ทุกวัน เรียน ศศ. ก็จะทำให้เรารู้เรื่องเหล่านี้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่เรียนไปเรียนมาก็ไม่ได้คิดอะไรมากสักเท่าไหร่ คณิตศาสตร์ในสมการยุ่งๆ ตัวแปรอ่านไม่ค่อยจะออกเต็มไปหมด ก็ไม่เลิศหรู รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง วิชาการก็ผ่านไปพร้อมกับประเมินแล้วว่าเก้าอี้ที่ปรึกษา รมว. น่าจะเป็นของเพื่อน 20 คนแรกของชั้นปี แค่เราก็เป็นคนที่ 40-50 เอง (ไม่ดีมาก แต่ไม่ขี้เหร่ก็เอาวะ – เป็น mezzanine tranche ก็ยังดีกว่า equity tranche นิดนึง)
เลยหันจะมาเอาดีเป็นนักพัฒนาแบบ NGO (inter ได้ก็ยิ่งดี เงินเยอะ ของ่าย จ่ายคล่อง) เพราะกิจกรรมจริงจังอย่างเดียวระหว่างเรียน คือ การทำค่ายอาสาพัฒนาชนบท ค่ายกลางปี ค่ายปลายปี ออกมันทุกปี ขึ้นต้นว่า ค่ายอาสาพัฒนาฯ ก็ดูมีความเสียสละ และมุ่งมาดปรารถนาจะช่วยเหลือสังคมที่ขาดแคลน โรงเรียนที่ขาดแคลน สาธารณูปโภคที่ขาดแคลน ไม่ว่าจะอยู่ดอย อยู่เขา พื้นราบ หรือในเขตพื้นที่ป่าอุทยาน ก็ไปหมดทุกที่ เวลาไปค่าย สิ่งที่ไปทำก็จะเป็นอะไรที่เราไปถามเขาว่าเขาขาดแคลนอะไร ด้วยงบประมาณที่ทางมหาวิทยาลัยตัดมาให้ น้ำพักน้ำแรงของชาวค่ายที่ไปขอสปอนเซอร์ รุ่นพี่เก่าที่ให้ความช่วยเหลือจิปาถะ หน่วยงานราชการ และรถทหารที่ขนของขนคนเข้าพื้นที่ จากนั้น 2 สัปดาห์ผ่านไป เราก็จะได้ศาลาการเปรียญ อาคารเรียน โรงอาหาร สะพานข้ามห้วย (เล็กๆ) ระบบประปา ฯลฯ แม้เมื่อเวลาผ่านไปตอนกลับไปเยี่ยมค่าย สิ่งเหล่านั้น (ที่ลงแรงสร้างไป อาจถึงต้องมี OT อยู่กัน 3-4 คืนเพราะต้องเร่งให้เสร็จทันกำหนด) จะได้กลายเป็นที่ให้วัว/ ควาย ยืนเล็มหญ้าไปพลาง หลบแดดไปพลางก็ตาม
เพราะค่ายนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าได้ต่างไปจากอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน ที่ว่า การทำค่ายปัจจุบันนี้ ความจริงคือ “เราไปให้อะไรเขาได้ไม่มากเท่าไหร่หรอก แต่เราไปได้อะไรจากเขามามากกว่า” ที่ปราชญ์เดินดิน ล้อม เพ็งแก้ว พูดว่า “อยากได้ความรู้ เข้าหาชาวบ้าน อยากได้ปริญญา เข้ามหาวิทยาลัย” โชคดีตรงที่ได้มา 2 อย่างตามสมควร จะว่าไปคำว่า เข้าหาชาวบ้าน มันมีความต่างบางประการ คือ เราเข้าหาชาวบ้าน เพราะเราอยากได้ความรู้ โดยเฉพาะที่หาไม่ได้จากตำรา ส่วนผู้แทนฯ เข้าหาชาวบ้าน เพราะอยากได้เสียงยามฤดูเลือกตั้งมาถึง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของการทำค่าย คือการที่คนวัยหนุ่มสาวมีความคิดที่อยากจะพัฒนา อยากทำสิ่งดีและเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น เนื่องจากเป็นคนคิดไม่เก่ง จำก็ไม่ค่อยเก่ง แต่ขอจำคติสอนใจนี้ ของ อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ว่า “คนเราจะเป็นคนที่สมบูรณ์ได้ ต้องระลึกเสมอถึงคุณธรรม 3 ข้อ คือ ความจริง ความงาม และความดี กล่าวโดยย่อ
ความจริง หมายถึง สัจธรรม และหลักวิชา
ความงาม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์มีวัฒนธรรม และความเพลิดเพลินเป็นการอดิเรก รวมทั้งการกีฬาประเภทต่างๆ
ความดี หมายถึง การไม่เบียดเบียน ประทุษร้ายต่อกัน ความสัตย์สุจริต และบำเพ็ญตนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน”
ขณะเดียวกัน เพื่อนบางคนมีความใฝ่ฝันที่จะใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งกำลังแรง กำลังเงิน เพื่อเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตของผู้คนในสังคมด้อยโอกาสดีขึ้นหากเขาต้องการ
หากย้อนถามตัวเองว่า เกิดมา 28 ปี รู้สึกเป็นผู้รับอยู่ถ่ายเดียว สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิต มีโอกาสการศึกษา มีเพื่อนรักใคร่ ผู้ใหญ่เมตตา ก็เป็นเพราะบุญของพ่อแม่ที่ท่านสร้างไว้ ตัวเองจึงได้รับในฐานะลูกของพ่อกับแม่ และตัวเองก็ได้อะไรจากสังคมมามากมาย เรียน รร.รัฐบาล เรียนและได้ทุนจาก ม.รัฐ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากเงินภาษีของประชาชน เพราะได้มามากแล้ว จึงควรตอบแทนสังคมบ้าง คิดว่าเกิดมาในชาตินี้ไม่ขอรวยเงิน แต่ขอรวยใจ ถ้าคิดว่าเป็นสิ่งดีแล้ว ก็ต้องขอบคุณคนที่เลี้ยงเรามา แม้ตอนนี้เขาจะไม่ได้อยู่ด้วยแล้ว แต่เลือดในร่างกายทั้งหมดที่ไหลอยู่ตอนนี้เป็นของเขา ทั้งนี้ ทรัพย์ที่ได้จากการทำสัมมาชีพ หากเหลือจากใช้จ่ายอันจะเกิดประโยชน์พึงสมควรแก่ตน และได้ดูแลแม่ น้อง ญาติสนิท มิตรสหายแล้ว ก็จะให้ทรัพย์ได้ไหลออกจากตัวเองกลับไปสู่สังคมและคนที่ยังต้องการอยู่อีกมาก โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามหลักคิดของนัก ศศ. (หากเป็นตามหลักนัก กม. จะต้องมีความยุติธรรมเป็นแกน)
28 ปีแล้ว ผ่าน business cycle มายังไม่ครบรอบ ยังช่วย clean up ระบบการเงินหลัง crisis ไม่ได้ ถามว่า มีสักหนึ่งนาทีไหม ที่คิดว่าตัวเองจะทำ 1) 2) 3) เพื่อให้ประเทศชาติดีขึ้น ก็นึกไม่ออก แต่ตอนนี้ คิดได้ว่า ตัวเองมีสิทธิ์ ที่จะทำความดีให้ประเทศชาติ ได้ทุกวัน แค่ตื่นเช้าลืมตาขึ้นมา แล้วมั่นใจว่า หมอที่จะตรวจโรคให้คนป่วย มี chart คนไข้ ที่บอกได้ว่า อาการคนไข้เป็นอย่างไร อาการปกติทั่วไป เริ่มเจ็บคอ เริ่มไอ หรือเริ่มจะไอเป็นเลือด หรือถึงขั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต (อันนี้ หมอคงรักษายาก ดังนั้น ควร detect ได้ล่วงหน้า จะได้ไม่เจ็บหนักถึงขั้นใช้ยาแพง/แรง)
งานยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นงานใหญ่ แต่ถ้ารู้ว่า งานยิ่งใหญ่คืออะไร เพื่อที่จะได้ใช้สมองที่มีอยู่ (ซึ่งไม่ได้ใหญ่โตเท่าไหร่) อย่างเต็มกำลังไปเพื่ออะไร ก็เพียงพอแล้วค่ะ และชอบคำว่า trickle down ของ ผู้บังคับบัญชาท่านนี้มาก ได้ยินคำนี้ครั้งแรก ตอนอยู่ปี 2 เรียนวิชา Economics of Development: พัฒนาการเศรษฐกิจค่ะ เรียกว่า ทฤษฎีรินหลั่ง บอกไว้ว่า คนจนจะกินอิ่ม ต้องให้คนรวยรวยให้พอก่อน
สุดท้ายขอขอบพระคุณผู้บังคับบัญชาท่านที่กล่าวถึง ขอบคุณวรรณสิงห์ และทุกคนที่มิได้กล่าวนาม
หลังจากไปวิ่งที่ มธ. ท่าพระจันทร์ (ไม่บอกก็คงพอจะเดาได้ว่าเป็นคนชอบวิ่ง และเรียกได้ว่า”บ้าวิ่ง” เป็นพักๆ) ได้เดินเข้าร้านหนังสือและหยิบหนังสือของวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ปกหลัง เขียนว่า “ผมอยากช่วยประเทศชาติ แต่ไม่ได้บนพื้นฐานว่าสังคมต้องการผมหรือไม่ แต่บนพื้นฐานว่าผมต้องการที่จะช่วย” อ่านประโยคนี้บวกกับความคิดที่วนอยู่ในหัวสมองนับตั้งแต่อ่านบทความของผู้บังคับบัญชาท่านหนึ่ง ก็มาถึงเรื่องที่จะกล่าวต่อไป อาจจะเป็นการเล่าชีวิตตัวเองมากไปสักหน่อย แต่ก็คิดว่าเกี่ยวโยงต่อเนื่องเป็นลำดับ
และในวันนี้ ได้รับ e-mail จากเพื่อนเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ รุ่น 31 เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีที่รู้จักกัน ก็นึกได้ว่า นี่เราเป็นนักเรียนเศรษฐศาสตร์มา 10 ปีแล้ว ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น หากมีคนถาม (หรือบางทีเขาไม่ได้ถาม แต่ขอเล่าเอง) ว่าทำไมถึงเลือกเรียน ศศ. คำตอบสั้น ง่าย และคิดว่าเท่ห์มากเวลาบอกใครไป ก็คือ เรียน ศศ. เพราะอยากเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้รัฐมนตรีคลัง full stop (คิดว่าเท่ห์สุดๆ ) หากจะขยายความต่อก็เป็นได้ว่า อยากใช้ความรู้ ความสามารถ มาทำนโยบายที่ส่งผลต่อ จีดีพี การจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ การกระจายรายได้ ลดปัญหาความยากจน ดูแลความกินดีอยู่ดีของคนในสังคม (ก็ขนาดสัญลักษณ์คณะ คือ ฟันเฟือง คันไถ และรวงข้าว แสดงถึงปัจจัยการผลิต ผลิตมากหรือสินค้าเป็นที่ต้องการมาก ก็บังเกิดความกินดีอยู่ดี แต่ยุคสมัยนี้ จะกินดีอยู่ดีได้คงต้องมีบ่อน้ำมัน เพิ่มมาอีกหนึ่ง) ต่างๆ นาๆ ศัพท์แสงเหล่านี้ ได้ยินกระแทกหูอยู่ทุกวัน เรียน ศศ. ก็จะทำให้เรารู้เรื่องเหล่านี้อย่างลึกซึ้งเพียงพอ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แต่เรียนไปเรียนมาก็ไม่ได้คิดอะไรมากสักเท่าไหร่ คณิตศาสตร์ในสมการยุ่งๆ ตัวแปรอ่านไม่ค่อยจะออกเต็มไปหมด ก็ไม่เลิศหรู รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง วิชาการก็ผ่านไปพร้อมกับประเมินแล้วว่าเก้าอี้ที่ปรึกษา รมว. น่าจะเป็นของเพื่อน 20 คนแรกของชั้นปี แค่เราก็เป็นคนที่ 40-50 เอง (ไม่ดีมาก แต่ไม่ขี้เหร่ก็เอาวะ – เป็น mezzanine tranche ก็ยังดีกว่า equity tranche นิดนึง)
เลยหันจะมาเอาดีเป็นนักพัฒนาแบบ NGO (inter ได้ก็ยิ่งดี เงินเยอะ ของ่าย จ่ายคล่อง) เพราะกิจกรรมจริงจังอย่างเดียวระหว่างเรียน คือ การทำค่ายอาสาพัฒนาชนบท ค่ายกลางปี ค่ายปลายปี ออกมันทุกปี ขึ้นต้นว่า ค่ายอาสาพัฒนาฯ ก็ดูมีความเสียสละ และมุ่งมาดปรารถนาจะช่วยเหลือสังคมที่ขาดแคลน โรงเรียนที่ขาดแคลน สาธารณูปโภคที่ขาดแคลน ไม่ว่าจะอยู่ดอย อยู่เขา พื้นราบ หรือในเขตพื้นที่ป่าอุทยาน ก็ไปหมดทุกที่ เวลาไปค่าย สิ่งที่ไปทำก็จะเป็นอะไรที่เราไปถามเขาว่าเขาขาดแคลนอะไร ด้วยงบประมาณที่ทางมหาวิทยาลัยตัดมาให้ น้ำพักน้ำแรงของชาวค่ายที่ไปขอสปอนเซอร์ รุ่นพี่เก่าที่ให้ความช่วยเหลือจิปาถะ หน่วยงานราชการ และรถทหารที่ขนของขนคนเข้าพื้นที่ จากนั้น 2 สัปดาห์ผ่านไป เราก็จะได้ศาลาการเปรียญ อาคารเรียน โรงอาหาร สะพานข้ามห้วย (เล็กๆ) ระบบประปา ฯลฯ แม้เมื่อเวลาผ่านไปตอนกลับไปเยี่ยมค่าย สิ่งเหล่านั้น (ที่ลงแรงสร้างไป อาจถึงต้องมี OT อยู่กัน 3-4 คืนเพราะต้องเร่งให้เสร็จทันกำหนด) จะได้กลายเป็นที่ให้วัว/ ควาย ยืนเล็มหญ้าไปพลาง หลบแดดไปพลางก็ตาม
เพราะค่ายนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าได้ต่างไปจากอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน ที่ว่า การทำค่ายปัจจุบันนี้ ความจริงคือ “เราไปให้อะไรเขาได้ไม่มากเท่าไหร่หรอก แต่เราไปได้อะไรจากเขามามากกว่า” ที่ปราชญ์เดินดิน ล้อม เพ็งแก้ว พูดว่า “อยากได้ความรู้ เข้าหาชาวบ้าน อยากได้ปริญญา เข้ามหาวิทยาลัย” โชคดีตรงที่ได้มา 2 อย่างตามสมควร จะว่าไปคำว่า เข้าหาชาวบ้าน มันมีความต่างบางประการ คือ เราเข้าหาชาวบ้าน เพราะเราอยากได้ความรู้ โดยเฉพาะที่หาไม่ได้จากตำรา ส่วนผู้แทนฯ เข้าหาชาวบ้าน เพราะอยากได้เสียงยามฤดูเลือกตั้งมาถึง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของการทำค่าย คือการที่คนวัยหนุ่มสาวมีความคิดที่อยากจะพัฒนา อยากทำสิ่งดีและเป็นประโยชน์ต่อคนอื่น เนื่องจากเป็นคนคิดไม่เก่ง จำก็ไม่ค่อยเก่ง แต่ขอจำคติสอนใจนี้ ของ อ.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ว่า “คนเราจะเป็นคนที่สมบูรณ์ได้ ต้องระลึกเสมอถึงคุณธรรม 3 ข้อ คือ ความจริง ความงาม และความดี กล่าวโดยย่อ
ความจริง หมายถึง สัจธรรม และหลักวิชา
ความงาม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์มีวัฒนธรรม และความเพลิดเพลินเป็นการอดิเรก รวมทั้งการกีฬาประเภทต่างๆ
ความดี หมายถึง การไม่เบียดเบียน ประทุษร้ายต่อกัน ความสัตย์สุจริต และบำเพ็ญตนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน”
ขณะเดียวกัน เพื่อนบางคนมีความใฝ่ฝันที่จะใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งกำลังแรง กำลังเงิน เพื่อเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตของผู้คนในสังคมด้อยโอกาสดีขึ้นหากเขาต้องการ
หากย้อนถามตัวเองว่า เกิดมา 28 ปี รู้สึกเป็นผู้รับอยู่ถ่ายเดียว สิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นได้ในชีวิต มีโอกาสการศึกษา มีเพื่อนรักใคร่ ผู้ใหญ่เมตตา ก็เป็นเพราะบุญของพ่อแม่ที่ท่านสร้างไว้ ตัวเองจึงได้รับในฐานะลูกของพ่อกับแม่ และตัวเองก็ได้อะไรจากสังคมมามากมาย เรียน รร.รัฐบาล เรียนและได้ทุนจาก ม.รัฐ ที่ได้รับเงินอุดหนุนจากเงินภาษีของประชาชน เพราะได้มามากแล้ว จึงควรตอบแทนสังคมบ้าง คิดว่าเกิดมาในชาตินี้ไม่ขอรวยเงิน แต่ขอรวยใจ ถ้าคิดว่าเป็นสิ่งดีแล้ว ก็ต้องขอบคุณคนที่เลี้ยงเรามา แม้ตอนนี้เขาจะไม่ได้อยู่ด้วยแล้ว แต่เลือดในร่างกายทั้งหมดที่ไหลอยู่ตอนนี้เป็นของเขา ทั้งนี้ ทรัพย์ที่ได้จากการทำสัมมาชีพ หากเหลือจากใช้จ่ายอันจะเกิดประโยชน์พึงสมควรแก่ตน และได้ดูแลแม่ น้อง ญาติสนิท มิตรสหายแล้ว ก็จะให้ทรัพย์ได้ไหลออกจากตัวเองกลับไปสู่สังคมและคนที่ยังต้องการอยู่อีกมาก โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามหลักคิดของนัก ศศ. (หากเป็นตามหลักนัก กม. จะต้องมีความยุติธรรมเป็นแกน)
28 ปีแล้ว ผ่าน business cycle มายังไม่ครบรอบ ยังช่วย clean up ระบบการเงินหลัง crisis ไม่ได้ ถามว่า มีสักหนึ่งนาทีไหม ที่คิดว่าตัวเองจะทำ 1) 2) 3) เพื่อให้ประเทศชาติดีขึ้น ก็นึกไม่ออก แต่ตอนนี้ คิดได้ว่า ตัวเองมีสิทธิ์ ที่จะทำความดีให้ประเทศชาติ ได้ทุกวัน แค่ตื่นเช้าลืมตาขึ้นมา แล้วมั่นใจว่า หมอที่จะตรวจโรคให้คนป่วย มี chart คนไข้ ที่บอกได้ว่า อาการคนไข้เป็นอย่างไร อาการปกติทั่วไป เริ่มเจ็บคอ เริ่มไอ หรือเริ่มจะไอเป็นเลือด หรือถึงขั้นเชื้อจะแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต (อันนี้ หมอคงรักษายาก ดังนั้น ควร detect ได้ล่วงหน้า จะได้ไม่เจ็บหนักถึงขั้นใช้ยาแพง/แรง)
งานยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นงานใหญ่ แต่ถ้ารู้ว่า งานยิ่งใหญ่คืออะไร เพื่อที่จะได้ใช้สมองที่มีอยู่ (ซึ่งไม่ได้ใหญ่โตเท่าไหร่) อย่างเต็มกำลังไปเพื่ออะไร ก็เพียงพอแล้วค่ะ และชอบคำว่า trickle down ของ ผู้บังคับบัญชาท่านนี้มาก ได้ยินคำนี้ครั้งแรก ตอนอยู่ปี 2 เรียนวิชา Economics of Development: พัฒนาการเศรษฐกิจค่ะ เรียกว่า ทฤษฎีรินหลั่ง บอกไว้ว่า คนจนจะกินอิ่ม ต้องให้คนรวยรวยให้พอก่อน
สุดท้ายขอขอบพระคุณผู้บังคับบัญชาท่านที่กล่าวถึง ขอบคุณวรรณสิงห์ และทุกคนที่มิได้กล่าวนาม