จินตวีร์ – พรวิภา คนธรรมดาที่พร้อมด้วยความดี
(ขออนุญาตพี่ทั้งสองไว้ ณ ที่นี้ด้วย หากมีความไม่สมบูรณ์ ความบกพร่องหรือความผิดพลาดประการใด ขอให้ให้อภัยด้วย)
เรื่องราวบางส่วนที่ถ่ายทอดออกมาผ่านทางรายการโทรทัศน์ประเภทเรื่องราวชีวิต ทำให้ประจักษ์ได้ว่า “คนบางคน” มีความพิเศษ เกินกว่า “คนบางคน” จะจินตนาการได้ (อย่างน้อยก็ตัวผู้เขียนเอง) จินตวีร์ เป็นตำรวจชั้นธรรมดาถึงชั้นผู้น้อย (ไม่ทราบยศ แต่รู้สึกได้ว่าเป็นอย่างหลัง สุจริตและเงินเดือนน้อย ) มีภรรยา (พรวิภา) ทำงานเป็นเสมียนบริษัทแถวนวนคร (เงินเดือนประมาณ เจ็ดพันกว่าบาท) เช่าแฟลตอยู่แถวใจกลางเมือง (เนื่องจากเห็นว่ามีบีทีเอสผ่าน) แต่งงานมานานแล้ว ( 8-9 ปี) ยังไม่มีบุตร แต่ทั้งคู่อยากมีลูกสาว
การได้ออกไปช่วยเหลือคนเป็นความสุขและความสบายใจของจินตวีร์ ในวันเสาร์- อาทิตย์ที่ว่าง จินตวีร์จะต้องเดินทาง (บขส.) ออกไปตามที่ต่างๆ ใกล้บ้างไกลบ้าง (เช่น ลพบุรี ) เพื่อเอาของกิน ของใช้และเงิน ไปให้คนแก่ไม่มีลูกหลาน คนเป็นอัมพฤติ อัมพาต ช่วยตัวเองได้ก็ลำบากเต็มที มากบ้าง น้อยบ้าง ห้าร้อยบาท พันนึง ก็แล้วแต่ว่ากำลังทรัพย์ตัวเองและที่ผู้ใจบุญคนอื่นร่วมบริจาคมีมากน้อยเพียงใด
.......
จินตวีร์
ถาม “ปีนึงทำงานหาเงินมาได้ให้ภรรยากี่บาท”
ตอบ “สามพันได้มั้งพี่”
ถาม “แล้วเงินไปช่วยคนอื่นทั้งหมดรวมๆแล้ว ปีนึงกี่บาท”
ตอบ “ไม่รู้ครับ ไม่เคยคิดว่าเท่าไหร่ แต่คงมากกว่าสามพัน อาจจะเป็นสามหมื่น หรือเป็นแสนก็ได้มั้งพี่”
ถาม “แล้วยืมเงินภรรยาบ้างไหม”
ตอบ “ก็ยืมบ้าง ถ้าต้องไปช่วยจริงๆ”
......
พรวิภา
ถาม “เวลาสามีมาขอยืมเงิน ให้ยืมมั้ย”
ตอบ “ให้ บางทีก็ให้ยืม บางทีก็ให้เลย”
ถาม “แล้วบริหารยังไง มีแผนอะไรมั้ย”
ตอบ “ก็วางแผนส่วนหนึ่งใช้ ส่วนหนึ่งเก็บ”
ถาม “ไม่รู้สึกอะไรเหรอ ว่าทำไมเค้าต้องเอาเงินไปช่วยคนอื่นที่ไม่รู้จักอยู่ตลอดเวลา”
ตอบ “ตอนแรก ก็ไม่เข้าใจ แต่ที่เค้าทำเป็นสิ่งดี ก็ชินแล้วที่เอาเงินไปทำบุญ”
.......
จินตวีร์
ถาม “ทำไปทำไม”
ตอบ “เรารู้สึก เราอยากช่วยเค้า มันเป็นความสุขที่ได้ช่วย”
..............
... คนเราจะเป็นคนที่สมบูรณ์ได้
ต้องระลึกเสมอถึงคุณธรรม ๓ ข้อ คือ
ความจริง ความงาม และความดี
ความจริง หมายถึง สัจธรรมและหลักวิชา
ความงาม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์มีวัฒนธรรมและความเพลิดเพลิน เป็นการอดิเรก รวมทั้งการกีฬาประเภทต่างๆ
ความดี นั้นหมายถึง การไม่เบียดเบียน ประทุษร้ายต่อกัน ความสัตย์สุจริตและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ป๋วย อึ้งภากรณ์
เรื่องราวบางส่วนที่ถ่ายทอดออกมาผ่านทางรายการโทรทัศน์ประเภทเรื่องราวชีวิต ทำให้ประจักษ์ได้ว่า “คนบางคน” มีความพิเศษ เกินกว่า “คนบางคน” จะจินตนาการได้ (อย่างน้อยก็ตัวผู้เขียนเอง) จินตวีร์ เป็นตำรวจชั้นธรรมดาถึงชั้นผู้น้อย (ไม่ทราบยศ แต่รู้สึกได้ว่าเป็นอย่างหลัง สุจริตและเงินเดือนน้อย ) มีภรรยา (พรวิภา) ทำงานเป็นเสมียนบริษัทแถวนวนคร (เงินเดือนประมาณ เจ็ดพันกว่าบาท) เช่าแฟลตอยู่แถวใจกลางเมือง (เนื่องจากเห็นว่ามีบีทีเอสผ่าน) แต่งงานมานานแล้ว ( 8-9 ปี) ยังไม่มีบุตร แต่ทั้งคู่อยากมีลูกสาว
การได้ออกไปช่วยเหลือคนเป็นความสุขและความสบายใจของจินตวีร์ ในวันเสาร์- อาทิตย์ที่ว่าง จินตวีร์จะต้องเดินทาง (บขส.) ออกไปตามที่ต่างๆ ใกล้บ้างไกลบ้าง (เช่น ลพบุรี ) เพื่อเอาของกิน ของใช้และเงิน ไปให้คนแก่ไม่มีลูกหลาน คนเป็นอัมพฤติ อัมพาต ช่วยตัวเองได้ก็ลำบากเต็มที มากบ้าง น้อยบ้าง ห้าร้อยบาท พันนึง ก็แล้วแต่ว่ากำลังทรัพย์ตัวเองและที่ผู้ใจบุญคนอื่นร่วมบริจาคมีมากน้อยเพียงใด
.......
จินตวีร์
ถาม “ปีนึงทำงานหาเงินมาได้ให้ภรรยากี่บาท”
ตอบ “สามพันได้มั้งพี่”
ถาม “แล้วเงินไปช่วยคนอื่นทั้งหมดรวมๆแล้ว ปีนึงกี่บาท”
ตอบ “ไม่รู้ครับ ไม่เคยคิดว่าเท่าไหร่ แต่คงมากกว่าสามพัน อาจจะเป็นสามหมื่น หรือเป็นแสนก็ได้มั้งพี่”
ถาม “แล้วยืมเงินภรรยาบ้างไหม”
ตอบ “ก็ยืมบ้าง ถ้าต้องไปช่วยจริงๆ”
......
พรวิภา
ถาม “เวลาสามีมาขอยืมเงิน ให้ยืมมั้ย”
ตอบ “ให้ บางทีก็ให้ยืม บางทีก็ให้เลย”
ถาม “แล้วบริหารยังไง มีแผนอะไรมั้ย”
ตอบ “ก็วางแผนส่วนหนึ่งใช้ ส่วนหนึ่งเก็บ”
ถาม “ไม่รู้สึกอะไรเหรอ ว่าทำไมเค้าต้องเอาเงินไปช่วยคนอื่นที่ไม่รู้จักอยู่ตลอดเวลา”
ตอบ “ตอนแรก ก็ไม่เข้าใจ แต่ที่เค้าทำเป็นสิ่งดี ก็ชินแล้วที่เอาเงินไปทำบุญ”
.......
จินตวีร์
ถาม “ทำไปทำไม”
ตอบ “เรารู้สึก เราอยากช่วยเค้า มันเป็นความสุขที่ได้ช่วย”
..............
... คนเราจะเป็นคนที่สมบูรณ์ได้
ต้องระลึกเสมอถึงคุณธรรม ๓ ข้อ คือ
ความจริง ความงาม และความดี
ความจริง หมายถึง สัจธรรมและหลักวิชา
ความงาม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์มีวัฒนธรรมและความเพลิดเพลิน เป็นการอดิเรก รวมทั้งการกีฬาประเภทต่างๆ
ความดี นั้นหมายถึง การไม่เบียดเบียน ประทุษร้ายต่อกัน ความสัตย์สุจริตและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ป๋วย อึ้งภากรณ์