ผ่านไปแล้วอีกหนึ่งภารกิจ........
รู้สึกโล่ง หลังจากหนักใจมา 2 อาทิตย์
ถาม : กรณีการเปิดเสรีทางการเงิน thai bank จะแข่งกับ foreign bank ได้หรือไม่ จะวัด competitiveness อย่างไร
(เอากระดาษกับปากกาขึ้นมาเขียนยิกๆ ได้สัก 3-4 นาที)
ตอบ : หลักในการทำธุรกิจของธ. คือ take risk และได้ return ที่เหมาะสมกับ risk profile ดังนั้น หัวใจก็คือ Risk management skills ที่ดีซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะจัดการกับ risk ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็น Credit Risk, Market Risk, Interest rate risk, F/x risk ect. (ความสำคัญหลักอยู่ที่ credit risk เพราะ port ของ Bank ส่วนใหญ่คือ Loan )
=== ดังนั้น Thai bank ทั้งหลายต้องปรับปรุง RM ให้ดี เพื่อจะได้แข่งขันได้ ====
ประการถัดมา เมื่อ bank เป็นผู้ขายสินค้าในที่นี้ คือบริการทางการเงิน จะ supply services เพื่อสนองความต้องการของผู้ซื้อได้มากน้อยเพียงใด และ price อย่างไร ถ้ามีบริการ แต่ต้นทุนสูงกว่า ก็แข่งขันได้ลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะยาว market share ก็ย่อมลดน้อยถอยลงไปตามลำดับ
ถาม : ให้ทำการศึกษา จะเริ่มจากอะไร ทำอย่างไร
ตอบ : เริ่มแรกต้อง define variables ที่จะเป็นตัวชี้วัด competitiveness ดังกล่าว และขั้นถัดมาคือ การ collect data โดยถ้า data ที่มีอยู่ก่อให้เกิดข้อจำกัดในการศึกษา ก็ต้อง suggest ว่าควรจะมีการเก็บข้อมูลใหม่ อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในอนาคต (ตอบได้กว้างเป็นมหาสมุทรแปซิฟิกเลยครับพี่น้อง)
ถาม : มองภาพเศรษฐกิจไทยปัจจุบันเป็นอย่างไร และมีความเสี่ยงอะไร
ตอบ : เป็น export-led-growth model อยู่ เห็นได้จากเป้าตัวเลขการส่งออก และผลต่อ growth ของประเทศที่ปรับเพิ่มขี้น ปัจจัยเสี่ยงคือหนี้ภาคครัวเรือน เห็นได้จากการใช้ credit card, consumer loan การเติบโตของการ housing motgage และดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นซึ่ง debt service ไม่ balance กับ income ก็จะไม่ sustain ในระยะยาว
=== ลืม เรื่อง ราคาน้ำมันไปเลย ===
ถาม : แล้ว Mega-project ล่ะ
ตอบ : เห็นว่าเป็นโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่มีความจำเป็นเพื่อลดต้นทุนในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ยกเรื่องการเมืองให้เป็นประเด็นต่างหาก (เป็นธรรมดาว่ามีการรั่วไหลอย่างแน่นอน) แต่ประเด็นว่าถ้าสร้างแล้วจะ finance mega project อย่างไร ซึ่งใน programe ของรัฐบาลได้มีการวางแผนเงินกู้ไว้แล้วว่าแต่ละแหล่ง เช่น commercial bank, bond, foreign investor จะมีสัดส่วนการกู้ยืมเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม จะต้อง manage debt ดังกล่าวได้ตลอดอายุโครงการเพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน
ถาม : ถ้าจ่ายคืนหนี้ไม่หมด จะทำอย่างไร
ตอบ : ก่อนจะลงทุน รัฐจะต้อง take into accout การรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการรับภาระ ของภาครัฐเองที่จะช่วย subsidy เพราะถือเป็นหน้าที่ที่ต้องบริการสังคม เอกชน และประชาชนผู้ใช้บริการ (user fees) เพื่อให้ mega-project เกิด sustainability ในระยะยาว
ตอนพูดก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เล่ามาทั้งหมด ตกหล่น วกไปวนมาบ้าง แต่ข้อใหญ่ใจความก็ประมาณนี้
ท่านใดมีความเห็นต่อคำถาม-คำตอบดังกล่าว ยินดีทั้งที่จะเห็นร่วมกันและเห็นต่างออกไป
เชิญท่านว่าได้ตามสบายนะคะ